จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติจะเก็บเงินภาษีจากเจ้าของสัตว์เลี้ยง ทั้งหมา และแมว โดยให้มีการขึ้นทะเบียนสัตว์เลี้ยง มีการจ่ายค่าลงทะเบียน และค่าใช้จ่ายบางส่วน แต่หากไม่นำสัตว์เลี้ยงไปขึ้นทะเบียนก็จะโดนปรับเงินหลักหมื่น โดยอ้างว่านโยบายนี้จะทำให้เจ้าของไม่ทิ้งขว้างสัตว์เลี้ยง เรื่องนี้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของประชาชน ว่าผลของการกระทำนี้จะดีจริงหรือไม่
ล่าสุดทางด้านเพจเฟซบุ๊กนามว่า “พลิกปมข่าว Thaipbs” ได้ออกมาเผยแพร่ภาพพร้อมเรื่องราวเกี่ยวกับ ค่าธรรมเนียม หรือ ภาษี ของทางต่างประเทศที่ต้องเสียให้รัฐบาล แต่ละประเทศที่เขาพัฒนาแล้วจะต้อง เสียค่าธรรมเนียม หรือ ภาษี ให้รัฐไหม และต้องเสียงแพงเท่าบ้านเราหรือเปล่าไปชมกันเลยค่ะ
ค่าธรรมเนียม หรือ ภาษี ถือเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในหลายประเทศพัฒนา ที่ช่วยลดปัญหาการรับเลี้ยงสัตว์โดยไม่พร้อม หรือปัญหาการทอดทิ้งสัตว์เลี้ยง ซึ่งจะช่วยลดประชากรสัตว์จรจัด อย่างเช่นสุนัข และแมว ที่เป็นต้นปัญหาของโรคระบาดต่างๆ ได้
.
ขณะที่ประเทศไทย ภายหลังที่ ร่าง พ.ร.บ. #ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ฉบับล่าสุด ที่เป็นร่างที่แก้ไข พ.ร.บ เดิมในปี 2557 ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะ ก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยออกมาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องความเหมาะสมที่ภาครัฐจะต้องจัดเก็บ รวมไปถึงข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้เงินของท้องถิ่นจากภาษี ที่อาจไม่ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาตามเจตนารมณ์ได้จริง
พลิกปมข่าว จึงขอยกตัวอย่างประเทศที่มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียม (ภาษี) สำหรับผู้ที่มีสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขหรือแมวมาให้ผู้ชมทางบ้านได้เห็นภาพกันว่า ปัจจุบันมีประเทศใดบ้างที่มีมาตรการเช่นเดียวกับที่ประเทศไทยกำลังจะเดินตามรอยอยู่ในขณะนี้
เนเธอร์แลนด์
ถือเป็นประเทศที่มีการประกาศว่า ไร้สุนัขจนจัดแห่งแรกของโลก โดยมีอัตราการเก็บภาษีแตกต่างกันไปขึ้นอยูกับแต่ละเมือง ตั้งแต่ 20 ยูโร (ประมาณ 750 บาท) ไปจนถึง 120 ยูโร (ประมาณ 4,500 บาท) โดยภายหลังที่มีการลงทะเบียนแล้ว สุนัขจะได้ ไมโครชิป จาก Nederlandse Databank voor Gezelschapsdieren หรือ (Dutch Pet Database) ซึ่งภาษีที่ได้ภาครัฐจะนำไปซื้อถึงใส่อุจาระแจกไว้ตามสวนสาธารณะ
ขณะเดียวกันก็มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่ปล่อยสุนัขขับถ่ายเรี่ยราดซึ่งอาจถูกปรับสูงถึง 140 ยูโร หรือ ราว 5,300 บาท หรือในบางพื้นที่มีกฎห้ามปลดสายจูง ที่อาจถูกปรับ 90 ยูโร หรือราว 3,400 บาท
เยอรมันนี
มีอัตราการเก็บภาษีที่แตกต่างไปตามแต่ละท้องที่เช่นเดียวกับของเนเธอร์แลนด์
โดยในเขตเมืองจะค่อนข้างมีอัตราการจัดเก็บที่สูงอยู่ราว 140-160 ยูโร (ประมาณ 5,300-6,500 บาท) /ตัว/ปี และจะสูงขึ้นไปอีก หากสุนัขที่เลี้ยงเป็นสุนัขพันธุ์ต่อสู้ เช่น พิตบูล หรือร็อตไวเลอร์ ก็จะมีอัตราการเก็บอยู่ที่ 450 ยูโร หรือราว 17,000 บาท เลยทีเดียว และจะต้องมีการทดสอบพฤติกรรมจากสัตว์แพทย์ทุก 2 ปี
.
สำหรับในส่วนของเงินภาษีจะนำไปพัฒนาปรับปรุงสถานสงเคราะห์ รณรงค์ให้ผู้เลี้ยงสุนัขทำหมัน ฝังไมโครชิฟ และในบางรัฐ ต้องมีการสอบข้อเขียน เพื่อประเมินว่าจะสามารถเลี้ยงสุนัขได้ถูกต้องหรือไม่
ญี่ปุ่น
มีอัตราการเก็บภาษีอยู่ที่ 3,000 เยน หรือประมาณ 350 บาท / ตัว / ปี สำหรับสุนัข แต่สำหรับแมวนั้นยังไม่มีข้อบังคับ
โดยเจ้าของจะต้องไปลงทะเบียนกับเทศบาลท้องถิ่นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ที่มีการรับมาเลี้ยง ซึ่งจะต้องมีการระบุที่พักอาศัย จากนั้น จนท. จะให้ป้ายอนุญาตเลี้ยงสุนัข โดยจะต้องนำไว้ติดกับปลอกคอของสุนัขตลอดเวลาเพื่อระบุเจ้าของ และหากมีการย้ายพื้นที่ ก็จะต้องไปลงทะเบียนใหม่ กับท้องถิ่น เพื่อรับป้ายอนุญาตชิ้นใหม่ด้วย
นอกจากนี้สุนัขทุกตัวก็จะต้องไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าตามกำหนด ตามสถานสาธารณสุขของสัตว์ และทางสถานสาธารณสุขก็จะให้ป้ายรับรองการฉีดวัคซีนมาซึ่งก็ต้องติดไว้ที่ปลอดคอสุนัขที่เลี้ยงตลอดเวลาเช่นกัน
ขณะที่ราคาซื้อขายสุนัขของญี่ปุ่นจะตกอยู่ที่ราวๆ 100,000 เยน ต่อตัว หรือหลักหมื่นบาท ตามแต่ขนาดตัว และสายพันธุ์
สิงคโปร์
อัตราการเก็บเริ่มต้นที่ 15 ดอลล่าสิงคโปร์ (ประมาณ 350 บาท) / ตัว / ปี โดยจะมี package อัตราภาษีให้เลือกสูงสุด ถึง 3 ปี คล้ายๆ กับการซื้อโปรโม่ชั่นของค่ายโทรศัพท์มือถือ คือ ยิ่งต่ออายุนานยิ่งจ่ายภาษีต่อปี ถูกลง
ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการที่จะเลี้ยงสุนัขยังต้องแสดงเอกสารก่อนเลี้ยง เช่น เอกสารการเสียภาษี โฉนดที่ดิน เอกสารการอนุญาตให้เลี้ยงในพื้นที่อาศัยอีกด้วย
ขณะที่มาตรการลงโทษของผู้เลี้ยงหากปล่อยให้สุนัขถ่ายเรี่ยราดจะถูกปรับถึง 1,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ23,600 บาท) และหากมีการทารุณกรรม หรือทอดทิ้งสัตว์เลี้ยง ก็จะมีโทษปรับมากกว่า 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราว 230,000 บาท และจำคุกอย่างน้อย 1 ปี
สหรัฐอเมริกา
– มีอัตราการเก็บภาษีแตกต่างกันออกไปในแต่ละรัฐ และแต่ละเมือง ตัวอย่างเช่น เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ในเมืองเดอร์แรม (Durham) รัฐนอร์ทแคโรไลนา จะต้องเสียภาษีสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมว ที่มีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ในอัตรา 10 ดอลล่าสหรัฐ ในกรณีทีทำหมันแล้ว แต่หากยังไม่ทำหมันจะต้องเสียอยู่ที่ 75 ดอลล่าสหรัฐ หรือราว 2,600 บาท
โดยภาษีที่จัดเก็บได้ส่วนหนึ่งจะจัดสรรเป็นเงินสนับสนุนการศึกษาและงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ส่วนหนึ่งรัฐบาลท้องถิ่นจะใช้เป็นเงินสนับสนุนในด้านการดูแลสัตว์ ควบคุมโรคระบาดในสัตว์ กำจัดซากสัตว์ที่ตาย หรือเป็นเงินชดเชยให้กับเกษตรกรปศสัตว์ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ทำให้ส่งผลเสียต่อรายได้
ทั้งนี้คนอเมริกันส่วนใหญ่จะเลือกอุปการะสุนัขจากสถานรับเลี้ยง หรือ องค์กรช่วยเหลือสัตว์ ก่อนที่จะตัดสินใจไปซื้อฟาร์ม เนื่องมารตรการจากการจูงใจในเรื่องภาษีที่ถูกกว่า ซึ่งช่วงลดประชากรสุนัขจรจัดในพื้นที่ได้อย่างมาก
ความคิดเห็นจากชาวเน็ต
ต่างคนต่างมุมมอง
ขอขอบคุณที่มาจาก : พลิกปมข่าว Thaipbs | tkvariety