เพิ่งจะเคยเห็น "วินาทีเติมน้ำมัน" ให้กับเครื่องบิน ที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้า เขาทำกันแบบนี้เองหรอ ชีวิตบนปั๊มน้ำมันลอยฟ้าสาธารณะที่ใครจะมาเติมก็ได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยนะ (ชมคลิป)

ก็เริ่มจากเครื่องบินบริการจะต้องบินอยู่สูงกว่าเครื่องบินรบที่เข้ามารับการเติมเชื้อเพลิงครับ


โดยความเร็วนั้นเครื่องบินทั้งสองจะต้องบินให้ช้าที่สุดเท่าที่เครื่องบินที่เข้ามารับการเติมเชื้อเพลิงจะสามารถบินช้ามากที่สุดอย่างปลอดภัย


อย่างพวกเครื่องบินรบ ก็อาจจะบินเข้ามาเติมช้าสุดอยู่ที่ประมาณ 550 -700 ก.ม./ช.ม.


ส่วนพวกเครื่องบินใบพัด หรือพวกเครื่องเฮอร์คิวลิส จะอยู่ที่ประมาณ 350-400 ก.ม./ช.ม.


โดยในเครื่องบินบริการจะมีช่องกระจกสำหรับเจ้าหน้าที่เติมเชื้อเพลิงไว้สำหรับมองและควบคุมคันชักสำหรับเติมเชื้อเพลิงให้กับเครื่องบิน


ซึ่งท่อส่งเชื้อเพลิงจะมีอยู่สองแบบ แบบที่เป็นสายยาว ๆ แบบในรูปของเจ้าของกระทู้ กับแบบที่เป็นแท่ง อยู่ตรงกลางด้านท้ายของเครื่องบิน[ทั้งสองแบบอาจมีชื่อเรียกที่เฉพาะ แต่ผมไม่ทราบครับ]


ซึ่งการจะเติมจากท่อส่งแบบไหนนั้นอยู่ที่เครื่องบินลำนั้น ๆ ว่ารองรับกับท่อส่งแบบไหน ผมไม่แน่ใจว่าเครื่องบินรบบางลำจะมีการรองรับทั้งสองระบบหรือไม่


ซื่งความแตกต่างของท่อส่งทั้งสอง โดยหลัก ๆ นั้นคือ ความเร็วในการจ่ายเชื้อเพลิง


แบบแท่งที่เป็นคันชักนั้นจะมีความเร็วในการจ่ายน้ำมันที่สูงมาก ๆ โดยมันสามารถเติมน้ำมัน 1000 ลิตร ในเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น ซึ่งตรงนี้เองที่เป็นข้อดีสำหรับการเติมแบบนี้คือ ทำการเติมได้รวดเร็ว

เหมาะกับเครื่องบินขนาดใหญ่ และมันยังสามารถควบคุมท่อส่งให้ไปทางซ้ายหรือขวาได้ แต่ข้อเสียคือ มันเติมได้ยาก ละมีความอันตรายสูง


แบบเป็นท่อส่งสายยาว ๆ แบบนี้นั้นจะส่งเชื้อเพลิงได้ช้ากว่าแบบแท่งเยอะมาก แต่มันเติมได้ง่ายกว่า เพราะมีความยืดหยุ่นมากกว่าเหมาะกับพวกเฮริคอปเตอร์

และ บ.ที่รองรับระบบนี้ โดยระบบนี้เจ้าหน้าที่ส่งเชื้อเพลิงจะบังคับทิศทางของสายส่งไม่ได้ นักบินที่เข้ามาเติมเชื้อเพลิงจะต้องใช้ความสามารุของตัวเองในการเข้าเติม


สำหรับการเติมเชื้อเพลิงแบบแท่งคันชักนั้น เมื่อเครื่องบินที่จะเข้ามารับการเติมเชื้อเพลิงบินเข้ามาไกล้จนได้ระยะ เจ้าหน้าที่ส่งเชื้อเพลิงจะให้สัณญาณเพื่อให้เครื่องบิน บินเข้ามาในตำแหน่งที่ถูกต้อง


เมื่อท่อเข้าล็อกมันจะทำการล็อกกันอัตโนมัติ และเชื่อมวงจรไฟฟ้าของ บ.ทั้งสองลำเข้าด้วยกัน และเมื่อเติมเสร็จแล้ว มันจะทำการปลดล็อกและหดท่อกลับ


โดยการเติมเชื้อเพลิงแบบนี้จะต้องระวังในเรื่องของการตกหลุมอากาศจากสภาพอากาศ และจากเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงเอง



คลิปนี้โพสต์โดย Military Defense & Archive

ที่มา : pantip , kanomjeeb.



เพิ่งจะเคยเห็น "วินาทีเติมน้ำมัน" ให้กับเครื่องบิน ที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้า เขาทำกันแบบนี้เองหรอ ชีวิตบนปั๊มน้ำมันลอยฟ้าสาธารณะที่ใครจะมาเติมก็ได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยนะ (ชมคลิป)
ใหม่กว่า เก่ากว่า