ในชีวิตประจำวันเรานั้น มีสิ่งของหลายต่อหลายอย่างที่คนไทยเรียกกันด้วยความเคยชินหรือความเข้าใจผิด เหตุผลส่วนใหญ่เป็นเพราะว่า คนไทยนิยมเรียกยี่ห้อแรกของสินค้านั้นๆ ที่เข้ามาขายในไทย จนเกิดเป็นความเคยชิน ส่งผลทำให้บางครั้งเมื่อต้องสื่อสารกับชาวต่างชาติ ถึงกับสื่อสารกันไม่รู้เรื่องว่าสิ่งนั้นคืออะไรกันแน่!?
1. แฟ้บ
ชื่อว่า “แฟ้บ” คงเป็นคำที่ใครหลายๆ คนเรียก “ผงซักฟอก” อย่างติดปาก ไม่ว่าจะซื้อยี่ห้ออะไรมาก็ตาม สุดท้ายเราก็เรียกว่า แฟ้บอยู่ดี สาเหตุอาจเป็นเพราะว่า แฟ้บเป็นผงซักฟอกยี่ห้อแรกๆ ที่มีขายอย่างกว้างขวางในประเทศไทย นับจากนั้นมา คงไทยจึงเรียกชื่อนี้แทนผงซักฟอกทุกยี่ห้อไปโดยปริยาย
2. รถแมคโคร
“รถแมคโคร” เป็นคำที่คนไทยส่วนมากใช้เรียก “รถตักดิน” รถก่อสร้างตีนตะขาบที่มีที่ตักอยู่บริเวณด้านหน้า ความจริงแล้วคำว่า “รถแมคโคร” เพี้ยนมาจากคำว่า “รถแบ็คโฮ (Back Hoe)” ซึ่งมาจากคำว่า Back ที่แปลว่า ด้านหลัง และ Hoe ที่แปลว่าจอบ แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ชื่อที่ถูกต้องของ “รถแมคโคร” อยู่ดี เพราะ “รถแบ็คโฮ” ของจริงหน้าตาเป็นแบบนี้
3. ซีร็อกส์
หากพูดคำว่า “ซีร็อกส์ (กริยา)” ให้กับคนไทยฟัง ทุกคนคงเข้าใจกันในทันทีว่า หมายถึงการนำไปถ่ายเอกสาร แต่ความจริงแล้วหากเราไปพูดคำว่า “ซีร็อกซ์” ให้กับชาวต่างชาติฟัง เขาคงทำหน้างงๆ กันอย่างแน่นอน
เพราะ “ซีร็อกส์ (Xerox) เป็นชื่อยี่ห้อเครื่องถ่ายเอกสารต่างหาก หากจะบอกชาวต่างชาติให้ไปถ่ายเอกสาร เราควรใช้คำว่า “photocopy” แทนนะฮะ
4. คอฟฟี่เมต
ถือว่าเป็นหนึ่งในส่วนผสมที่คนรักกาแฟขาดไม่ได้เลยทีเดียวสำหรับสิ่งที่เราเรียกว่า “คอฟฟี่เมต” แต่ความจริงแล้ว “คอฟฟี่เมต” เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ของบริษัท Nestle ต่างหาก
ชื่อจริงๆ ของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้คือ “ครีมเทียม” และมีอีกหลายยี่ห้อที่ขายผลิตภัณฑ์นี้เช่นกัน ซึ่งเหตุผลที่เรียกกันแบบนี้ เป็นเพราะ Nestle คือบริษัทแรกๆ ที่นำผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เข้ามาขายในไทยยังไงล่ะ
5. แม็ก
อุปกรณ์สำนักงานที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดีนี้ จริงๆ แล้วมันมีชื่อภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า “เครื่องเย็บกระดาษ” ต่างหาก แต่เราติดเรียกกันแบบนี้ไปแล้ว เพราะยี่ห้อที่เรารู้จักกันมากที่สุด คือยี่ห้อ Max ยังไงล่ะ ยังไม่รวมไส้ของมันนะ เรียกอย่างเป็นทางการว่า “ลวดเย็บกระดาษ”
6. เอแคลร์ หรือ เอแกลร์
ซึ่งขนมทั้งสองชนิดทำมาจากแป้งชนิดเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่รูปร่าง และเอแคลร์ไม่มีไส้เหมือนกับชูครีมเท่านั้นเอง ฉะนั้นทีหลังไปซื้อกิน อย่าเรียกผิดอีกนะ (แต่ยังไงก็เรียกกันจนติดปากไปแล้วล่ะ)
7. โบกี้
หลายคนอาจเรียกเจ้าตู้รถไฟที่อยู่ด้านบนนี้ว่าโบกี้ แต่ความจริงด้านบนเค้าเรียกว่าตู้โดยสารหรือตู้สินค้าต่างหาก ที่เรียกว่าโบกี้จริงๆ คือภาพด้านล่างนี้ ซึ่งแต่ละตู้ขบวนก็จะมีโบกี้อยู่อย่างน้อยสองชุด ขึ้นอยู่กับขนาดความใหญ่ของของตู้ขบวน
8. มาม่า
อาหารยามยากของใครหลายๆ คน จริงๆ แล้วเราควรเรียกว่า “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” ต่างหากนะ แต่ก็โอเคถ้าจะบอกว่า มาม่าคือยี่ห้อที่ขายดีที่สุดในไทย คนเลยเรียกกันติดปากแบบนั้น
9. ปาท่องโก๋
ขนมชื่อจีนๆ ที่เราคุ้นเคยกันดีอย่างปาท่องโก๋ จริงๆ แล้วคนจีนไม่ได้เรียกว่าปาท่องโก่ แต่เขาเรียกว่า อิ่วจาก้วย หรือ โหยวจ๋าโกว่ ต่างหาก ส่วนปาท่องโก๋ เพี้ยนมาจากคำว่า แปะถึ่งกอ ที่หมายถึงขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาลทรายขาวอีกชนิดต่างหาก แบบภาพด้านล่างนี้เลย
10. พันทิป – พันธุ์ทิพย์
ทุกวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักเว็บไซต์ยอดนิยมอันดับต้นๆ ของไทยอย่าง “พันทิป” (Pantip.com) ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าเว็ปไซต์นี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับห้างสรรพสินค้าไอทีชื่อดังอย่าง “พันธุ์ทิพย์พลาซ่า” แต่พึงรู้ไว้ตั้งแต่บัดนี้เลยว่า ทั้งสองอย่างไม่เกี่ยวข้องกันแม้แต่น้อย ทั้งชื่อก็ยังสะกดไม่เหมือนกันด้วย
*อัพเดทข้อมูลจากเพื่อนสมาชิก มีข้อมูลว่าจริงๆ แล้วเว็บไซต์พันทิปตั้งใจตั้งชื่อให้คล้ายกับห้างพันธุ์ทิพย์ เพราะในระยะแรกๆ พันทิปเป็นเว็บบอร์ดสำหรับคนที่สนใจเรื่องไอที จนภายหลังค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นเรื่องสัพเพเหระในปัจจุบัน
11. น้ำท่วม – น้ำขังรอการระบาย
เรียกว่าเป็นการกำหนด Definition ที่สะเทือนไปทั้งประเทศจริงๆ สำหรับน้ำขังรอการระบาย (เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนกำลังประสบในขณะนี้ เพราะฝนตกหนักเหลือเกิน) จากฝีปาก(อดีต)ผู้ว่ากทม. ท่านหนึ่ง เพราะท่านได้เปลี่ยนความเข้าใจของเราไปทั้งหมด
ที่มา