อย่านำเงินใส่บาตรพระ โดย ครูบาแสนจน ชาวพุทธหลายคนยังเข้าใจผิด ฟังแล้วกระจ่าง สาธุๆ

นับว่าเป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันไม่จบสิ้นในสังคมปัจจุบัน การทำบุญตักบาตรถือว่าเป็นบุญที่สามารถประกอบได้ทุกวัน เราชาวพุทธจึงยึดถือทำเนียมการตักบาตรเป็นวัตร เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อสะสมบุญบารมีทาน แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่ไปด้วยคือการศึกษาธรรมมะซึ่งถือว่าเป็นบุญยิ่งกว่าทานทั้งหลาย เมื่อเรารู้หลักธรรมคำสอน เราก็สามารถทำบุญได้อย่างถูกวิธี และได้บุญสูงสุด

แต่เรื่องที่หลายคนสงสัยก็คือการถวายปัจจัย ถวายเงินโดยตรงแก่พระหรือสามเณร ทั้งที่มีกฏบัญญัติห้ามเอาไว้อย่างชัดเจน โดยให้เหตุผลว่า การเวลาเปลี่ยนไปตามยุคสมัยพระจำเป้นต้องใช้เงิน แต่ถ้าเรามองให้ดีแล้ว เราชาวพุทธสามารถถวายทุกอย่างที่ต้องใช้เงินซื้อแก่พระได้แต่เราเลือกที่จะไม่ทำ เพราะการถวายเงินสะดวกกว่า แต่ในความสะดวกสบายนี้ เรากลับก่อกรรมโดยไม่รู้ตัว วันนี้เราจึงมีธรรมะดีๆ มาฝากกันเกี่ยวกับการถวายเงินแก่พระสงฆ์ หรือสามเณร

ผู้ที่ใส่บาตรด้วยเงิน และพระภิกษุที่รับเงิน ชื่อว่าไม่เคารพในวินัย ไม่เคารพในผู้บัญญัติวินัยด้วย

พระ ภิกษุในพระพุทธศาสนารับเงินทองไม่ได้ ถึงจะใช้ให้ผู้อื่น คือไวยาวัจกรรับแทนก็ไม่ได้ โดยที่สุดยินดีเงินทองที่คนอื่น คือไวยาวัจกรเก็บเอาไว้ให้ หรือที่เขาถวายวางไว้ใกล้ ๆ ก็ไม่ได้ หรือยินดีเงินทองที่อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธานำเงินทองมาถวายโดยฝากธนาคารไว้ให้ แต่มีชื่อพระภิกษุผู้เป็นเจ้าของบัญชีอยู่ก็ไม่ได้ เป็นอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ทั้งหมด (สำหรับสามเณร ก็ไม่ควรเหมือนกัน เพราะผิดสิกขาบทข้อที่ ๑๐ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นผู้ควรแก่การทัณฑกรรมตามที่กล่าวไว้แล้วในมหาขันธกะ) (วิ.มหา. ๔/๒๘๕)

การ รับเงินทองของพระภิกษุในปัจจุบันนี้เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขทั้ง ฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้ได้นามว่า พุทธบริษัท ดูเหมือนว่า การรับเงินทองเป็นเรื่องที่ดี เป็นสิ่งที่น่ากระทำได้ เหมาะสมแก่กาลสมัยนิยม ถึงเรื่องนี้ก็เคยเกิดขึ้นในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ มีเรื่องปรากฏในพระวินัยปิฎกว่า

“ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ วัดเวฬุวันวิหาร ใกล้เมือง ราชคฤห์ พระอุปนันทศากยบุตรเป็นภิกษุเข้าไปฉันเป็นประจำในตระกูลหนึ่ง ซึ่งตระกูลนั้นจะแบ่งอาหารไว้ถวายท่านส่วนหนึ่งเสมอ วันหนึ่งเขาได้เนื้อมา ก็แบ่งไว้ถวายแก่ท่าน ส่วนที่เหลือจากการแบ่งนั้นก็ได้ทำอาหารกินกัน เมื่อได้อรุณแล้วก็ตื่นขึ้นมาทำอาหารไว้ถวายท่าน บังเอิญเช้านั้นเด็กในบ้านตื่นขึ้นมาแต่เช้าร้องอ้อนวอนอยากกินอาหารนั้น จึงให้เด็กกินเสีย

เมื่อ ได้เวลาท่านอุปนันทะ ก็เข้าไปฉันในตระกูลนั้น เขาก็นิมนต์ให้ท่านนั่งแล้วก็ได้เล่าเรื่องที่ตนเก็บเนื้อไว้ถวายนั้น ให้ท่านฟัง พร้อมทั้งบอกต่อไปอีกว่า ถึงแม้ว่าไม่ได้ถวายเนื้อนั้นแต่ก็เก็บมูลค่าของเนื้อนั้นไว้มีมูลค่า ๑ กหาปณะ พระคุณเจ้าจะให้กระผมจัดหาวัตถุอะไร มาถวายขอรับ ส่วนท่านอุปนันทะรู้อย่างนั้นแล้ว บอกให้ถวายเงินทันที หลังจากท่านกลับไปแล้วเขาก็ได้ติเตียนโดยประการต่าง ๆ ว่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทำไมจึงรับเงินเหมือนอย่างพวกเราหนอ เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง ทรงติเตียนพระอุปนันทะอย่างรุนแรงว่า “ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สมควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้รับเงินและทองเล่า การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว”

พระ พุทธองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามไว้ว่า “อนึ่งภิกษุใด รับเองก็ดี ให้คนอื่นรับไว้ให้ก็ดี ซึ่งทองและเงิน หรือยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์”

เวลาล่วงมาจนถึงปัจจุบัน ในยุคที่ปัจจัย 4 ต้องแลกมาด้วยเงินทั้งสิ้น หลายๆคนเลยคิดเอาเองว่า พระสามารถรับเงินได้ตามสมัยนิยมที่เปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเรามองย้อนกลับไปสมัยก่อนก้ไม่ได้ต่างกัน ผ้าที่มีราคาแพงลิบลิ่ว จนพระต้องหาผ้าบังสกุลมาเย็บใช้เอง อาหารก็หายากบิณฑบาตได้บ้างไม่ได้บ้าง อดบ้างอิ่มบ้าง การเดินทางก็ต้องใช้เท้า ทุกอย่างดูยากลำบาก แต่ในความยากลำบากนั้นสิ่งที่ภิกษุต้องเผชิญคือทุกข์ เมื่อภิกษุเห็นทุกข์และสาเหตุที่แท้จริงของทุกข์ว่าไม่ใช่เพราะปัจจัยภายนอก เมื่อนั้นภิกษุย่อมเห็นทางดับทุก ซึ่งหากเรามีส่วนช่วยในการดับทุกข์นั้น เราก็จะได้อานิสงส์ผลบุญ มากกว่าการ ถวายความสะดวกสบายแก่ภิกษุเป็นหมื่นเท่า ล้านเท่า

เรามาชมคลิปต่อไปนี้กันว่าสิ่งที่เราทำในทุกๆวันสมควรแล้วหรือไม่

คลิป


ขอขอบคุณข้อมูจาก watsamma
ที่มา : siamnews

ใหม่กว่า เก่ากว่า