กรุงเทพมหานครถือเป็นเมืองเศรษฐกิจที่มีประชากรอาศัยมากที่สุด เป็นทั้ง แหล่งรวมสถานศึกษา และแหล่งคนทำงาน ซึ่งล่าสุดเว็บไซต์ นัมเบโอ เว็บไซต์ฐานข้อมูลด้านค่าครองชีพที่ใหญ่ที่สุดในโลก เปิดเผยดัชนีค่าครองชีพทั่วโลก ปี 2562 โดยคำนวณจากค่าสินค้าอุปโภคบริโภค ค่าอาหารในร้านอาหาร ค่าเช่าที่พักอาศัย และกำลังซื้อของประชากรในเมือง พบว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน อยู่ที่ 55.43 จุด
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
ทั้งนี้ นัมเบโอระบุว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายบุคคล ไม่รวมค่าเช่าบ้านอยู่ที่ราว 21,000 บาท/เดือน ส่วนค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของครอบครัวที่มีสมาชิก 4 คน ไม่รวมค่าเช่าบ้าน อยู่ที่ 75,800 บาท/เดือน
สำหรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดของคนกรุงเทพฯ ในปีนี้ คือค่าอาหารในร้านอาหาร ซึ่งเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 30.42 จุด จาก 27.99 จุด เมื่อปีที่ผ่านมา คิดเป็นราคาเฉลี่ยที่ 80 บาท/มื้อ และค่าเช่าที่พักอาศัย เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 26.35 จุด จาก 26.21 จุด โดยอพาร์ตเมนต์ 1 ห้องนอน ใจกลางเมือง มีค่าเช่าเฉลี่ยที่ 21,400 หมื่นบาท/เดือน ขณะที่ค่าสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 58.32 จุด จาก 62.40 จุด
นัมเบโอระบุว่า ค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อของคนกรุงเทพฯ ลดลงมาอยู่ที่ 41.15 จุด จาก 44.94 จุด
ภาพจาก BBC Thai
นอกจากนี้ ภูเก็ต พัทยา และเชียงใหม่ ยังติดอยู่ในเมือง 10 อันดับแรกที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน อยู่ที่ 48.85 จุด 45.30 จุด และ 43.42 จุด โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายบุคคล ไม่รวมค่าเช่าบ้านใน 3 เมืองดังกล่าวอยู่ที่ 18,000 บาท/เดือน 17,000 บาท/เดือน และ 16,000 บาท/เดือน ตามลำดับ
หากเทียบกับกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว สิงคโปร์เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุด อยู่ที่ 69.79 จุด ตามด้วยกรุงเทพฯ และเมืองย่างกุ้งของเมียนมา ซึ่งนัมเบโอระบุว่า ค่าครองชีพในย่างกุ้งต่ำกว่ากรุงเทพฯ เพียง 0.75% ขณะที่ภูเก็ตอยู่ที่อันดับ 4 ด้านพัทยาและเชียงใหม่อยู่ที่อันดับ 6 และ 8
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
สำหรับเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกปีนี้คือ เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 131.37 จุด โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายบุคคล ไม่รวมค่าเช่าที่พักอาศัย อยู่ที่ราว 4.94 หมื่นบาท/เดือน ขณะที่เมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดในเอเชียคือ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งดัชนีค่าครองชีพอยู่ที่ 88.45 จุด โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายบุคคล ไม่รวมค่าเช่าที่พักอาศัย อยู่ที่ราว 3.5 หมื่นบาท/เดือน
เงินเดือน 20,000 คนกรุงเทพยังไม่พอใช้ นอกจากจะเป็นค่ากินอยู่แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย ไม่ว่าจะขยับไปทางไหนก็มีแต่ค่าใช้จ่ายเต็มไปหมด กลับมาอยู่บ้านเรา ถึงเงินเดือนไม่มาก แต่ก็มีเงินเก็บออมนะคะ
ข้อมูลจาก นัมเบโอ เว็บไซต์ฐานข้อมูลด้านค่าครองชีพที่ใหญ่ที่สุดในโลก , siamvariety