ในความเป็นจริงแล้ว ปูอัดไม่ได้ทำมาจากเนื้อปูหรือมีส่วนผสมของเนื้อปูอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ แต่มันกลับทำมาจากเนื้อซูริมิ (Surimi) หรือเนื้อปลาที่มีสีขาว เนื่องจากเนื้อปูแท้ๆ นั้นมีราคาที่แพงมากนั่นเอง และที่เราได้กลิ่นของปูก็เป็นเพราะว่าในขั้นตอนการผลิตนั้นได้มีการปรุงแต่งกลิ่นให้เหมือนกับเนื้อปู มีการแต่งสีให้เป็นสีแดง-ส้มเหมือนกับกระดองปูที่ทำให้สุกแล้ว แถมเนื้อปลายังถูกอัดเป็นแท่งๆ คล้ายกับลายของกล้ามเนื้อปูจนทำให้เราคิดว่าเป็นเนื้อปูแท้ๆ กันเลยหละ
ปูอัดไม่ได้ทำมาจากปูจริงๆ เพราะมันทำจาก..!
ปูอัด ภาษาทางการเรียกว่า เนื้อปูเทียม (Imitation Crab Stick)
ปูอัดจะ ไม่มี ส่วนผสมของเนื้อปู อยู่ด้วยเลย
ปูอัดถูกทำขึ้นเพื่อเลียนแบบ เนื้อปูอลาสก้า ปูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สังเกตุได้จากรูปร่างของปูอัดที่เป็นทรงกระบอก คล้ายเนื้อบริเวณก้ามและขาของปูอลาสก้า รวมไปถึงผิวสีแดงของปูอัด ก็เป็นการเลียนแบบปูอลาสก้าอย่างจงใจ
ส่วนประกอบหลักของปูอัด คือ ซูริมิ (Surimi) ซึ่งทำมาจากปลาเนื้อสีขาวที่มีไขมันต่ำ ได้แก่ ปลาตาหวาน ปลาข้างเหลือง ปลาดาบ ปลากะพง ฯลฯ
ปลาที่ใช้กันมากที่สุด คือ ปลาทรายแดง (ปลาอิโตโยริ) ปลาอลาสก้าพอลล็อค (Alaska Pollock)
ส่วนประกอบอื่นๆ ที่ใช้ผสมเพื่อทำปูอัด คือ น้ำ แป้งสาลี แป้งมันสำปะหลัง ไข่ขาว น้ำมันถั่วเหลือง เกลือ น้ำตาล ซอร์บิทอล (สารให้ความหวาน) โปรตีนจากถั่วเหลือง สารสกัดจากปู กลิ่นปู รสปู ส่วนผสมอาจแตกต่างไปบ้างตามสูตรของแต่ละเจ้า
วิธีทำ เริ่มจากการนำปลามาตัดหัว ควักไส้ทิ้ง ส่งเข้าเครื่องบีบ รีดเอาแต่เนื้อปลาออกมา แล้วผสมกับ แป้ง น้ำตาล เกลือ ผงชูรส และกลิ่นปู เสร็จแล้วนำไปทำให้สุก และผ่านกระบวนการที่ทำให้เนื้อปลามีลักษณะเป็นเส้นเหมือนเนื้อปูจริงๆ แล้วอัดเป็นแท่งยาวๆ ตกแต่งสีให้ดูเหมือนเนื้อปู ก็เป็นอันเรียบร้อย
ปลาที่จับได้ในปัจจุบันส่วนใหญ่นั้นจะมีขนาดเล็กมาก (เรียกรวมๆ ว่า ปลาเป็ด ) ขายไม่ได้ราคา จึงทำให้ 90% ของปลาเป็ด จะถูกนำไปทำเป็นปลาป่นสำหรับใช้ผลิตอาหารสัตว์ ต่อมามีบริษัทในญี่ปุ่นได้คิดค้นวิธีการนำปลาเป็ด มาทำเป็นเนื้อปูเทียมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518
ไทยเราเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการทำประมงมิใช่น้อย และมีโรงงานผลิตปูอัดมานานหลายปีแล้ว ปลาที่ใช้ได้แก่ ปลาทรายแดง ปลาทรายขาว ปลาตาโต และ ปลาดาบ
ประโยชน์ของปูอัด
เป็นอาหารโปรตีนที่ย่อยง่าย เนื่องจากปูอัดมีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นเนื้อปลา อาจมีแป้งปนบ้าง มากน้อยตามคุณภาพ และราคา แต่ก็ยังมีส่วนประกอบหลักคือเนื้อปลา (ถ้าไม่ดวงจู๋ไปเจอแบบคุณภาพต่ำมาก ใส่แป้งมากมายนะครับ) เวลาเลือกซื้อก็ดูให้ดีๆ ครับ
ปูอัดสามารถนำมาประกอบอาหารได้มากมาย แม้กระทั่งกินเล่นเป็นอาหารว่างสำหรับคนลดความอ้วนก็ยังได้ เพราะให้พลังงาน แท่งละ ประมาณ 30 กิโลแคลอรี่ เท่านั้นครับ
วิธีการเลือกซื้อปูอัด
ในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องมีขนาดและรูปร่างใกล้เคียงกัน
เนื้อปูอัดต้องไม่แตกหรือยุ่ยเละ
เนื้อปูอัดสามารถแยกออกเป็นเส้นได้
เนื้อปูอัดต้องมีสีขาว ส่วนที่เป็นผิวต้องมีสีสม่ำเสมอ
ต้องมีกลิ่นรสปกติของปูอัด ไม่มีกลิ่นเหม็น หรือรสเปรี้ยว
ที่มา : siamnews